ภูมิแพ้ หืด ผิวหนัง
ALLERGY ASTHMA SKIN
ไทยจักษุ พระราม 3 เปิดให้บริการรักษาโรคเฉพาะทางด้านภูมิแพ้ หืด ผิวหนัง ให้บริการตรวจรักษาโรคภูมิแพ้ทางจมูก ตา หอบหืด ผื่นแพ้ ลมพิษ แพ้อาหาร แพ้ยา โดยวิธีทันสมัยมาตรฐานสากล ทั้งการทดสอบหาสิ่งที่ผู้ป่วยแพ้ และการทดสอบสมรรถภาพปอด เพื่อเป็นแนวทางในการรักษาและป้องกันโรคภูมิแพ้ ได้แก่
- โรคภูมิแพ้ ทาง จมูก
- โรคหืด
- โรคไซนัสอักเสบ
- แพ้อาหาร
- แพ้ยา
- แพ้แมลงกัดต่อย
- แพ้รุนแรงเฉียบพลัน
- โรคผิวหนังเป็นผื่น แพ้ ลมพิษ
อาการที่พบได้แก่ จาม น้ำมูกไหล คัดจมูก มักเป็นเรื้อรังเป็นๆหายๆ เป็นโรคที่เกิดจากผู้ที่แพ้ มีปฏิกิริยาไวต่อสารก่อภูมิแพ้ พบในเด็กมากกว่าผู้สูงอายุ ผู้ที่เป็นโรคภูมิแพ้ทางจมูก อาจมีอาการภูมิแพ้ทางตาร่วมด้วย และมีโอกาสเป็นโรคหืดได้มากกว่าปกติ 3 เท่า
ผลกระทบ
- คุณภาพชีวิตและประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
- อาจเกิดโรคแทรกซ้อน เช่น หูชั้นกลางอักเสบ โรคหืด ริดสีดวงจมูก นอนกรน ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ
การทดสอบหาสารก่อภูมิแพ้ทางผิวหนัง
การรักษา
- ควรหลีกเลี่ยงสารที่แพ้ สามารถทดสอบสารก่อภูมิแพ้ทางผิวหนังว่าแพ้สารชนิดใดได้ โดยสารที่ก่อภูมิแพ้ที่พบมากได้แก่ ไรฝุ่น เศษแมลงสาป การทดสอบสารก่อภูมิแพ้นั้นสามารถทราบผลได้ภายใน 30 นาที
- ยาต้านฮีสตามีน มีหลายชนิด ชนิดใหม่ๆไม่ค่อยทำให้ง่วง แต่ราคาแพงกว่าชนิดเดิมๆ
- ยาพ่นจมูกชนิดสเตียรอยด์ช่วยลดการอักเสบของเยื่อบุจมูก ควรใช้ต่อเนื่องตามคำแนะนำของแพทย์
- การให้วัคซีนเพื่อให้ปรับลดปฎิกิริยาความไวต่อสารก่อภูมิแพ้ ต้องใช้เวลาต่อเนื่อง 3-5 ปี เป็นหนทางที่ผู้ป่วยมีอาการดีขึ้น พึ่งยาน้อยลง หรืออาจหายจากโรคภูมิแพ้ได้้
เป็นโรคที่เกิดจากการอักเสบอย่างเรื้อรังของหลอดลม และเกิดการอุดกั้นของหลอดลม ดีขึ้นหลังการรักษา พบในเด็กราวร้อยละ 12 และในผู้ใหญ่ร้อยละ 3 อาจเป็นร่วมกับโรคภูมิแพ้จมูก ผิวหนัง
อาการ
- ไอ หายใจเสียงดังวิ๊ดๆ
- แน่นหน้าอก หายใจลำบาก หอบ เหนื่อย มักเป็นมากในตอนกลางคืน หรือเวลาออกกำลังกาย เป็นซ้ำๆกันหลายครั้ง
- มักเกิดหลังการติดเชื้อทางเดินหายใจ หรือหลังการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้ มลพิษทางอากาศ
การตรวจสมรรถภาพปอด
การรักษา
- หลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้อาการกำเริบ เช่น สารก่อภูมิแพ้ที่ผู้ป่วยแพ้ การเป็นหวัด ไข้หวัด มลพิษ บุหรี่
- ใช้ยาให้ถูกต้อง ถูกวิธี
- ยาบรรเทาอาการ เช่น ยาพ่นขยายหลอดลมใช้เมื่อมีอาการหอบ
- ยาควบคุม เช่น ยาพ่นสเตียรอยด์ ยาจำพวก antileukotriene เพื่อลดการอักเสบของหลอดลม ควรใช้ติดต่อกัน ขนาดยา และเวลาตามแพทย์สั่ง บางรายที่เป็นรุนแรงมากรักษามานานยังควบคุมยาก อาจพิจารณา anti IgE ร่วมด้วย
- รู้จักปฏิบัติตนเวลาจับหืด ควรใช้ยาขยายหลอดลม หรือบริหารยาผ่านเครื่องพ่นยา ถ้าไม่ดีขึ้นควรไปพบแพทย์ทันที เพราะการจับหืดรุนแรงอาจเป็นอันตรายถึงแก่ชีวิตได้้
หากท่านมีอาการคัดจมูก น้ำมูกเหลือง ไข้ อ่อนเพลีย ไอ ปวดศีรษะ แก้ม หน้าผาก มามากกว่า 1 สัปดาห์ ท่านอาจเป็นมากกว่าการเป็นหวัดที่นานกว่าปกติ อาการที่ท่านเป็นบ่งถึงโรคไซนัสอักเสบ โรคไซนัสอักเสบเป็นโรคที่พบได้บ่อยทั้งในเด็กและผู้ใหญ่ พบได้ราวร้อยละ 14-15 ของประชากรทั่วไปในกรุงเทพมหานคร
การรักษา
ผู้ที่เป็นโพรงจมูกไซนัสอักเสบอย่างเฉียบพลันส่วนหนึ่งอาจเกิดจากไวรัส ไม่จำเป็นต้องใช้ยาต้านจุลชีพ ยาต้านจุลชีพ จำเป็นในรายที่เป็นไซนัสอักเสบจากเชื้อแบคทีเรีย แพทย์จะให้ยาต้านจุลชีพไป 3-5 วัน หากอาการไม่ดีขึ้น อาจเปลี่ยนเป็นยาอื่นที่เหมาะสม ในไซนัสอักเสบจากเชื้อแบคทีเรียอย่างเฉียบพลันควรใช้ยาต้านจุลชีพ 10-14 วัน ในรายที่เป็นเรื้อรัง ควรให้ยาต้านจุลชีพ 3-6 อาทิตย์หรือให้จนไม่มีอาการไปอีก 1 อาทิตย์ อาจให้ยาแก้คัดจมูก ละลายเสมหะ ยาต้านฮิสตามีน และยาพ่นสเตียรอยด์ลดอาการบวมของเยื่อบุจมูกร่วมด้วยในรายที่เป็นภูมิแพ้ของจมูก การล้างจมูกด้วยน้ำเกลือ หรือสูดไอน้ำอุ่นๆก็อาจช่วยเสริมการรักษาได้ เนื่องจากโรคไซนัสอักเสบมักพบร่วมกับโรคภูมิแพ้ และหอบหืด คนไข้โรคหืดมีอุบัติการณ์ของไซนัสอักเสบ 25- 70% โดยเฉพาะผู้ที่มีริดสีดวงจมูกร่วมด้วย ดังนั้น ผู้ป่วยโรคหืดซึ่งมักมีการกำเริบบ่อย ควรตรวจดูว่ามีไซนัสอักเสบ ร่วมด้วยหรือไม่ เพราะการรักษาไซนัสอักเสบ อย่างถูกต้องมีส่วนทำให้อาการโรคหืดดีขึ้นอย่างชัดเจน
สาเหตุ
- แพ้อาหาร เช่น อาหารทะเล ถั่ว สีผสมอาหารบางชนิด
- แพ้ยา ปฏิกิริยาการแพ้ยาบางชนิดอาจทำให้เกิดผื่นลมพิษได้้
- แพ้พิษแมลง เช่น ปฏิกิริยาที่เกิดจากผึ้ง ต่อต่อย
- การติดเชื้อ การติดเชื้อไวรัส แบคทีเรีย เชื้อรา หรือมีพยาธิิ
- อาจมีโรคระบบอื่น ๆ ของร่างกาย เช่น โรคต่อมไทรอยด์ หรือระบบภูมิคุ้มกันต่อต้านตัวเอง เช่น SLE หรือมะเร็งต่อมน้ำเหลือง ซึ่งพบได้น้อย
- เป็นปฏิกิริยาของผิวหนังที่ตอบสนองผิดปกติต่อความร้อน ความเย็น การกดรัด แสงแดด การออกกำลังกาย
- มีคนไข้ที่เป็นลมพิษจำนวนมากที่หาสาเหตุไม่พบ
การรักษา
- พยายามหาสาเหตุ และ หลีกเลี่ยงสาเหตุที่ทำให้เกิดโรคลมพิษ
- ให้ยาต้านฮีสตามีน ยาต้านฮีสตามีนมีหลายชนิด
- ยาอื่นๆ ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการมาก ผื่นไม่ค่อยตอบสนองต่อยาต้านฮีสตามีน แพทย์อาจพิจารณาใช้ยาอื่นที่มีฤทธิ์ยับยั้งการสร้างและหลั่งสารสื่อกลางในผิวหนังที่เป็นตัวการที่ก่อให้เกิดผื่นลมพิษ และอาจพิจารณา biologic agent anti IgE
- ในรายที่เป็นภูมิแพ้เฉียบพลันรุนแรง ลมพิษ และแน่นหน้าอก หายใจลำบาก ควรรีบรับการฉีด epinephrine ใต้ผิวหนัง