ขนาดตัวอักษร ปกติ

บริการของเรา

THAI EYE CENTER SERVICE

ต้อหิน

GLAUCOMA

ต้อหินอันตรายกว่าที่คุณคิด

ต้อหินคือกลุ่มอาการของโรคที่ทำให้ขั้วประสาทตาค่อยๆเสื่อม  เกิดจากการคั่งของน้ำภายในตา ทำให้ความดันในลูกตาตาสูง บางครั้งก็เกิดในผู้ที่มีความดันตาปกติ  คนที่เป็นในระยะแรกส่วนใหญ่มักจะไม่ทราบว่าตนป่วยเป็นโรคนี้  ลานสายตาจะค่อยๆแคบลง มองเห็นตรงกลาง แต่ข้างๆจะเห็นลดลง จนในที่สุดตาอาจจะบอด  แต่ถ้าได้รับการตรวจพบและรักษาอย่างถูกต้องตั้งแต่เนิ่นๆ จะป้องกันไม่ให้ประสาทตาเสื่อมต่อไป  ส่วนประสาทตาที่ถูกทำลายไปแล้ว ก่อนที่จะได้รับการรักษาจะไม่สามารถกลับคืนปกติได้

ประเภทของต้อหิน

ต้อหินมุมตาเปิด ชนิดนี้พบบ่อยที่สุด โดยจะเป็นต้อหินมุมเปิดเรื้อรัง แบ่งเป็น ชนิดความดันตาสูง และชนิดความดันตาปกติ ต้อหินมุมตาแคบ แบ่งเป็นต้อหินเฉียบพลัน และต้อหินเรื้อรัง สำหรับผู้ที่เป็นต้อหินเรื้อรัง มักไม่มีอาการเจ็บปวดแต่จะมาพบแพทย์เมื่อเป็นมากจนมองไม่เห็นแล้ว ส่วนต้อหินชนิดมุมตาแคบเฉียบพลัน  มักเกิดในรายที่มุมตาระหว่างกระจกตาและม่านตาแคบ มักพบในคนเอเชีย เวลาเป็นความดันตาจะสูงขึ้นมากทันที ทำให้ปวดตามาก ปวดศีรษะ อาเจียน ตามัวอย่างรวดเร็ว มองไม่ค่อยเห็น มักเกิดในผู้ที่มีอายุ 45 ปีขึ้นไป ถ้าไม่ได้รับการรักษาจะตาบอดใน 1 สัปดาห์     

ผู้ที่เสี่ยงต่อการเกิดต้อหินเรื้อรัง ทุกคนมีโอกาสเป็นต้อหินเรื้อรังได้ แต่ บุคคลต่อไปนี้มี โอกาสเสี่ยงสูงกว่าบุคคลทั่วไปได้แก่ 

  • ผู้สูงอายุ ยิ่งอายุมากยิ่งมีความเสี่ยงมาก ต้อหินมักพบในผู้ที่มีอายุมากกว่า 40 ปี
  • ผู้ที่มีประวัติต้อหินในครอบครัว โดยเฉพาะ พ่อ แม่ พี่ น้อง
  • ผู้ที่ใช้ยาสเตียรอยด์มากเกินขนาด เช่นในรายที่เป็นหอบหืดรุนแรงเรื้อรัง
  • ผู้ที่เคยมีประวัติอุบัติเหตุในดวงตา
  • ผู้มีโรคเกี่ยวกับหลอดเลือดและการไหลเวียนของเลือด เช่น เบาหวาน หัวใจ โรคไมเกรน ความดันโลหิตสูงหรือต่ำผิดปกติ โรคเรย์เนาด์
  • ผู้ที่มีภาวะสายตาสั้นมาก หรือ สายตายาวมาก
  • อื่นๆเช่น เป็น นอนกรน หรือมีประวัติสูบบุหรี่

ผู้ที่อายุมากกว่า 40ปีขึ้นไป โดยเฉพาะมีญาติพี่น้องเป็นต้อหิน จึงควรได้รับการตรวจตาจากจักษุแพทย์เป็นประจำทุก 1-2 ปี บางรายต้อหินอาจเกิดจากการซื้อยามาหยอดเอง เช่นยาที่มีสเตียรอยด์ประกอบอยู่ แล้วหยอดต่อเนื่องไปหลายๆขวด

การตรวจวินิจฉัย

THAI EYE GLAUCOMA

มีเครื่องมือพร้อมในการตรวจ ได้แก่

  1. เครื่องวัดความดันลูกตา เพื่อใช้ในการประเมินและรักษาต้อหิน
  2. ตรวจประสาทตาโดยจักษุแพทย์ ตรวจประสาทตาโดยจักษุแพทย์ เพื่อดูขั้วประสาทตาและประเมินมุมตาเพื่อดูว่าเป็นต้อหินชนิดมุมตาเปิด หรือ มุมตาแคบ โดยใช้เครื่องมือช่วยประเมินมุมตา
  3. เครื่องถ่ายภาพจอประสาทตา เพื่อช่วยในการวินิจฉัยและติดตามการดำเนินโรคของต้อหิน
    ขั้นประสาทตาปกติ
    ขั้วประสาทเป็นต้อ
  4. เครื่องวัดลานสายตา เพื่อดูลานสายตาว่าผิดปกติ  แคบลงหรือไม่
  5. เครื่อง OCT เป็นเครื่องรุ่นใหม่ที่สามารถ scan ดูเซลล์ประสาทตาแต่ละชั้น  ว่ามีผิดปกติหรือเสื่อมหรือไม่
  6. เครื่อง pachymeter เป็นเครื่องวัดความหนาของกระจกตาซึ่งมีส่วนช่วยเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการประเมินความดันลูกตา

การรักษา

จักษุแพทย์ผู้รักษาจะเลือกใช้วิธีตามชนิดและความรุนแรงของผู้ป่วยแต่ละราย เรามีเทคโนโลยีทันสมัยในการรักษา ได้แก่ 

  1. ยาหยอดตา เป็นวิธีที่ได้ผลและนิยมใช้ มีหลายชนิด ควรใช้ขนาดยาและชนิดยาต่อเนื่องตามที่แพทย์สั่ง
  2. ยารับประทาน ถ้าใช้ยาหยอดแล้วยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร แพทย์อาจให้ยารับประทานเพิ่ม ควรทานตามที่แพทย์แนะนำ สำหรับยาที่รับประทานพวก Diamox (azetazolamide) อาจทำให้ชาที่มือ หรือเท้า ควรรับประทานกล้วย ส้ม เพื่อเพิ่มโปแตสเซี่ยมช่วยลดอการชามือชาเท้าได้
  3. เลเซอร์ ที่ไทยจักษุ มีเลเซอร์ใช้ทั้งชนิด 532 FD-Nd:YAG และ Nd:YAG จักษุแพทย์จะเลือกใช้เลเซอร์ที่เหมาะสมกับชนิดและระยะของโรคต้อหิน หรือ ในกรณีที่ใช้ยาข้างต้น แล้วไม่ได้ผลเท่าที่ควร เช่นการยิง Laser peripheral iridotomy (L-PI) เป็นการรักษาในผู้ป่วยต้อหินมุมแคบหรือต้อหินเฉียบพลันนอกจากนี้ยังสามารถยิง Argon laser peripheral iridoplasty (ALPI) สำหรับต้อหินมุมปิดชนิดที่ L-PI อย่างเดียวรักษาไม่ได้
  4. การผ่าตัด เราจะแนะนำเมื่อการรักษาข้างต้นยังไม่ได้ผลเท่าที่ควร การผ่าตัดต้อหินหลักๆมี 2 วิธี คือ
    1.Trabeculectomy เป็นการผ่าตัดทำทางระบายน้ำออกจากตาอันใหม่เพื่อลดความดันตา
    2.Aqueous shunt surgery เป็นการผ่าตัดใส่ท่อระบายเพื่อลดความดันตา มักจะใช้เมื่อผ่าตัดวิธีแรกไม่ได้ผล

รีวิวจากผู้ใช้บริการ

REVIEW

อ่านเพิ่มเติม